วันพุธที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ความรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์

                       
  พรบ. คอมพิวเตอร์ 2550 ทุกคนที่ใช้คอมพิวเตอร์ต้องรู้




       พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรมีกฎหมาย ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ดังต่อไปนี้
มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. ๒๕๕๐”
มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา ๓ ในพระราชบัญญัตินี้ “ระบบคอมพิวเตอร์” หมายความว่า อุปกรณ์หรือชุดอุปกรณ์ของคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมการทำงานเข้าด้วยกัน โดยได้มีการกำหนดคำสั่ง ชุดคำสั่ง หรือสิ่งอื่นใด และแนวทางปฏิบัติงานให้อุปกรณ์หรือชุดอุปกรณ์ทำหน้าที่ประมวลผลข้อมูลโดยอัตโนมัติ
มาตรา ๔ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกกฎกระทรวง เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ กฎกระทรวงนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้
มาตรา ๕ ผู้ใดเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งระบบคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกันการเข้าถึงโดยเฉพาะและมาตรการนั้น มิได้มีไว้สำหรับตน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๖ ผู้ใดล่วงรู้มาตรการป้องกันการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ที่ผู้อื่นจัดทำขึ้นเป็นการเฉพาะถ้านำมาตรการดังกล่าวไปเปิดเผยโดยมิชอบ ในประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๗ ผู้ใดเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกันการเข้าถึงโดยเฉพาะและมาตรการนั้นมิได้มีไว้สำหรับตน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปีหรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๘ ผู้ใดกระทำด้วยประการใดโดยมิชอบด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อดักรับไว้ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นที่อยู่ระหว่างการส่งในระบบคอมพิวเตอร์ และข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นมิได้มีไว้เพื่อประโยชน์สาธารณะหรือเพื่อให้บุคคลทั่วไปใช้ประโยชน์ได้ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๙ ผู้ใดทำให้เสียหาย ทำลาย แก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือเพิ่มเติมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโดยมิชอบ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๑๐ ผู้ใดกระทำด้วยประการใดโดยมิชอบ เพื่อให้การทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นถูกระงับ ชะลอ ขัดขวาง หรือรบกวนจนไม่สามารถทำงานตามปกติได้ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๑๑ ผู้ใดส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์แก่บุคคลอื่นโดยปกปิดหรือปลอมแปลงแหล่งที่มาของการส่งข้อมูลดังกล่าว อันเป็นการรบกวนการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ของบุคคลอื่นโดยปกติสุข ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท
มาตรา ๑๒ ถ้าการกระทำความผิดตามมาตรา ๙ หรือมาตรา ๑๐
(๑) ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชน ไม่ว่าความเสียหายนั้นจะเกิดขึ้นในทันทีหรือในภายหลัง และไม่ว่าจะเกิดขึ้นพร้อมกันหรือไม่ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสิบปี และปรับไม่เกินสองแสนบาท
(๒) เป็นการกระทำโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือระบบคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ ความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือการบริการสาธารณะ หรือเป็นการกระทำต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือระบบคอมพิวเตอร์ที่มีไว้เพื่อประโยชน์สาธารณะ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบห้าปี และปรับตั้งแต่หกหมื่นบาทถึงสามแสนบาท
ถ้าการกระทำความผิดตาม (๒) เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สิบปีถึงยี่สิบปี
มาตรา ๑๓ ผู้ใดจำหน่ายหรือเผยแพร่ชุดคำสั่งที่จัดทำขึ้นโดยเฉพาะเพื่อนำไปใช้เป็นเครื่องมือในการกระทำความผิดตามมาตรา ๕ มาตรา ๖ มาตรา ๗ มาตรา ๘ มาตรา ๙ มาตรา ๑๐ หรือมาตรา ๑๑ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๑๔ ผู้ใดกระทำความผิดที่ระบุไว้ดังต่อไปนี้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
(๑) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน
(๒) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศหรือก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ประชาชน
(๓) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักรหรือความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้ายตามประมวลกฎหมายอาญา
(๔) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ ที่มีลักษณะอันลามกและข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้
(๕) เผยแพร่หรือส่งต่อซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์ตาม (๑)(๒) (๓) หรือ (๔)
มาตรา ๑๕ ผู้ให้บริการผู้ใดจงใจสนับสนุนหรือยินยอมให้มีการกระทำความผิดตามมาตรา ๑๔ ในระบบคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในความควบคุมของตน ต้องระวางโทษเช่นเดียวกับผู้กระทำความผิดตามมาตรา ๑๔
มาตรา ๑๖ ผู้ใดนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ที่ประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่ปรากฏเป็นภาพของผู้อื่น และภาพนั้นเป็นภาพที่เกิดจากการสร้างขึ้น ตัดต่อ เติม หรือดัดแปลงด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์หรือวิธีการอื่นใด ทั้งนี้ โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง หรือได้รับความอับอาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือ
ปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ถ้าการกระทำตามวรรคหนึ่ง เป็นการนำเข้าข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยสุจริต ผู้กระทำไม่มีความผิด ความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นความผิดอันยอมความได้ ถ้าผู้เสียหายในความผิดตามวรรคหนึ่งตายเสียก่อนร้องทุกข์ ให้บิดา มารดา คู่สมรส หรือ บุตรของผู้เสียหายร้องทุกข์ได้ และให้ถือว่าเป็นผู้เสียหาย
มาตรา ๑๗ ผู้ใดกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้นอกราชอาณาจักรและ
(๑) ผู้กระทำความผิดนั้นเป็นคนไทย และรัฐบาลแห่งประเทศที่ความผิดได้เกิดขึ้นหรือผู้เสียหายได้ร้องขอให้ลงโทษ หรือ
(๒) ผู้กระทำความผิดนั้นเป็นคนต่างด้าว และรัฐบาลไทยหรือคนไทยเป็นผู้เสียหายและผู้เสียหายได้ร้องขอให้ลงโทษ
จะต้องรับโทษภายในราชอาณาจักร
หมวด ๒
พนักงานเจ้าหน้าที่
มาตรา ๑๘ ภายใต้บังคับมาตรา ๑๙ เพื่อประโยชน์ในการสืบสวนและสอบสวนในกรณีที่มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้ เฉพาะที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการใช้เป็นหลักฐานเกี่ยวกับการกระทำความผิดและหาตัวผู้กระทำความผิด
(๑) มีหนังสือสอบถามหรือเรียกบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้มาเพื่อให้ถ้อยคำ ส่งคำชี้แจงเป็นหนังสือ หรือส่งเอกสาร ข้อมูล หรือหลักฐานอื่นใดที่อยู่ในรูปแบบที่สามารถเข้าใจได้
(๒) เรียกข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์จากผู้ให้บริการเกี่ยวกับการติดต่อสื่อสารผ่านระบบคอมพิวเตอร์หรือจากบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้อง
(๓) สั่งให้ผู้ให้บริการส่งมอบข้อมูลเกี่ยวกับผู้ใช้บริการที่ต้องเก็บตามมาตรา ๒๖ หรือที่อยู่ในความครอบครองหรือควบคุมของผู้ให้บริการให้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่
(๔) ทำสำเนาข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ จากระบบคอมพิวเตอร์ที่มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ในกรณีที่ระบบคอมพิวเตอร์นั้นยังมิได้อยู่ในความครอบครองของพนักงานเจ้าหน้าที่
(๕) สั่งให้บุคคลซึ่งครอบครองหรือควบคุมข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ที่ใช้เก็บข้อมูลคอมพิวเตอร์ ส่งมอบข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ดังกล่าวให้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่
(๖) ตรวจสอบหรือเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ ข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ที่ใช้เก็บข้อมูลคอมพิวเตอร์ของบุคคลใด อันเป็นหลักฐานหรืออาจใช้เป็นหลักฐานเกี่ยวกับการกระทำความผิด หรือเพื่อสืบสวนหาตัวผู้กระทำความผิดและสั่งให้บุคคลนั้นส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ ที่เกี่ยวข้องเท่าที่จำเป็นให้ด้วยก็ได้
(๗) ถอดรหัสลับของข้อมูลคอมพิวเตอร์ของบุคคลใด หรือสั่งให้บุคคลที่เกี่ยวข้องกับการเข้ารหัสลับของข้อมูลคอมพิวเตอร์ ทำการถอดรหัสลับ หรือให้ความร่วมมือกับพนักงานเจ้าหน้าที่ในการถอดรหัสลับดังกล่าว
(๘) ยึดหรืออายัดระบบคอมพิวเตอร์เท่าที่จำเป็นเฉพาะเพื่อประโยชน์ในการทราบรายละเอียดแห่งความผิดและผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๑๙ การใช้อำนาจของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา ๑๘ (๔) (๕) (๖) (๗) และ
(๘) ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ยื่นคำร้องต่อศาลที่มีเขตอำนาจเพื่อมีคำสั่งอนุญาตให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการตามคำร้อง ทั้งนี้ คำร้องต้องระบุเหตุอันควรเชื่อได้ว่าบุคคลใดกระทำหรือกำลังจะกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดอันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ เหตุที่ต้องใช้อำนาจ ลักษณะของการกระทำความผิด รายละเอียดเกี่ยวกับอุปกรณ์ที่ใช้ในการกระทำความผิดและผู้กระทำความผิด เท่าที่สามารถจะระบุได้ ประกอบคำร้องด้วยในการพิจารณาคำร้องให้ศาลพิจารณาคำร้องดังกล่าวโดยเร็วเมื่อศาลมีคำสั่งอนุญาตแล้ว ก่อนดำเนินการตามคำสั่งของศาล ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ส่งสำเนาบันทึกเหตุอันควรเชื่อที่ทำให้ต้องใช้อำนาจตามมาตรา ๑๘ (๔) (๕) (๖) (๗) และ (๘) มอบให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองระบบคอมพิวเตอร์นั้นไว้เป็นหลักฐาน แต่ถ้าไม่มีเจ้าของหรือผู้ครอบครองเครื่องคอมพิวเตอร์อยู่ ณ ที่นั้น ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ส่งมอบสำเนาบันทึกนั้นให้แก่เจ้าของหรือ
ผู้ครอบครองดังกล่าวในทันทีที่กระทำได้ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้เป็นหัวหน้าในการดำเนินการตามมาตรา ๑๘ (๔) (๕) (๖) (๗) และ
(๘) ส่งสำเนาบันทึกรายละเอียดการดำเนินการและเหตุผลแห่งการดำเนินการให้ศาลที่มีเขตอำนาจภายในสี่สิบแปดชั่วโมงนับแต่เวลาลงมือดำเนินการ เพื่อเป็นหลักฐานการทำสำเนาข้อมูลคอมพิวเตอร์ตามมาตรา ๑๘ (๔) ให้กระทำได้เฉพาะเมื่อมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ และต้องไม่เป็นอุปสรรคในการดำเนินกิจการของเจ้าของหรือผู้ครอบครองข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นเกินความจำเป็น การยึดหรืออายัดตามมาตรา ๑๘ (๘) นอกจากจะต้องส่งมอบสำเนาหนังสือแสดงการยึดหรืออายัดมอบให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองระบบคอมพิวเตอร์นั้นไว้เป็นหลักฐานแล้ว พนักงานเจ้าหน้าที่จะสั่งยึดหรืออายัดไว้เกินสามสิบวันมิได้ ในกรณีจำเป็นที่ต้องยึดหรืออายัดไว้นานกว่านั้น ให้ยื่นคำร้องต่อศาลที่มีเขตอำนาจเพื่อขอขยายเวลายึดหรืออายัดได้ แต่ศาลจะอนุญาตให้ขยายเวลาครั้งเดียวหรือหลายครั้งรวมกันได้อีกไม่เกินหกสิบวัน เมื่อหมดความจำเป็นที่จะยึดหรืออายัดหรือครบกำหนดเวลาดังกล่าวแล้ว พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องส่งคืนระบบคอมพิวเตอร์ที่ยึดหรือถอนการอายัดโดยพลัน หนังสือแสดงการยึดหรืออายัดตามวรรคห้าให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
มาตรา ๒๐ ในกรณีที่การกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้เป็นการทำให้แพร่หลายซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ ที่อาจกระทบกระเทือนต่อความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร ตามที่กำหนดไว้ในภาคสองลักษณะ ๑ หรือลักษณะ ๑/๑ แห่งประมวลกฎหมายอาญา หรือที่มีลักษณะขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน พนักงานเจ้าหน้าที่โดยได้รับความเห็นชอบจากรัฐมนตรีอาจยื่นคำร้อง พร้อมแสดงพยานหลักฐานต่อศาลที่มีเขตอำนาจขอให้มีคำสั่งระงับการทำให้แพร่หลายซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นได้ ในกรณีที่ศาลมีคำสั่งให้ระงับการทำให้แพร่หลายซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ตามวรรคหนึ่ง ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทำการระงับการทำให้แพร่หลายนั้นเอง หรือสั่งให้ผู้ให้บริการระงับการทำให้แพร่หลายซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นก็ได้
มาตรา ๒๑ ในกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่พบว่า ข้อมูลคอมพิวเตอร์ใดมีชุดคำสั่งไม่พึงประสงค์รวมอยู่ด้วย พนักงานเจ้าหน้าที่อาจยื่นคำร้องต่อศาลที่มีเขตอำนาจเพื่อขอให้มีคำสั่งห้ามจำหน่ายหรือเผยแพร่ หรือสั่งให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นระงับการใช้ ทำลายหรือแก้ไขข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นได้ หรือจะกำหนดเงื่อนไขในการใช้ มีไว้ในครอบครอง หรือเผยแพร่ชุดคำสั่งไม่พึงประสงค์ดังกล่าวก็ได้ชุดคำสั่งไม่พึงประสงค์ตามวรรคหนึ่งหมายถึงชุดคำสั่งที่มีผลทำให้ข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือระบบคอมพิวเตอร์หรือชุดคำสั่งอื่นเกิดความเสียหาย ถูกทำลาย ถูกแก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติมขัดข้อง หรือปฏิบัติงานไม่ตรงตามคำสั่งที่กำหนดไว้ หรือโดยประการอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวงทั้งนี้ เว้นแต่เป็นชุดคำสั่งที่มุ่งหมายในการป้องกันหรือแก้ไขชุดคำสั่งดังกล่าวข้างต้น ตามที่รัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษา
มาตรา ๒๒ ห้ามมิให้พนักงานเจ้าหน้าที่เปิดเผยหรือส่งมอบข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ หรือข้อมูลของผู้ใช้บริการ ที่ได้มาตามมาตรา ๑๘ ให้แก่บุคคลใดความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับกับการกระทำเพื่อประโยชน์ในการดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ หรือเพื่อประโยชน์ในการดำเนินคดีกับพนักงานเจ้าหน้าที่เกี่ยวกับการใช้อำนาจหน้าที่
โดยมิชอบ หรือเป็นการกระทำตามคำสั่งหรือที่ได้รับอนุญาตจากศาลพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ใดฝ่าฝืนวรรคหนึ่งต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๒๓ พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ใดกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นล่วงรู้ข้อมูลคอมพิวเตอร์ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ หรือข้อมูลของผู้ใช้บริการ ที่ได้มาตามมาตรา ๑๘ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๒๔ ผู้ใดล่วงรู้ข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์หรือข้อมูลของผู้ใช้บริการ ที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้มาตามมาตรา ๑๘ และเปิดเผยข้อมูลนั้นต่อผู้หนึ่งผู้ใด ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๒๕ ข้อมูล ข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้มาตามพระราชบัญญัตินี้ ให้อ้างและรับฟังเป็นพยานหลักฐานตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาหรือกฎหมายอื่นอันว่าด้วยการสืบพยานได้ แต่ต้องเป็นชนิดที่มิได้เกิดขึ้นจากการจูงใจมีคำมั่นสัญญา ขู่เข็ญ หลอกลวง หรือโดยมิชอบประการอื่น
มาตรา ๒๖ ผู้ให้บริการต้องเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ไว้ไม่น้อยกว่าเก้าสิบวันนับแต่วันที่ข้อมูลนั้นเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ แต่ในกรณีจำเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่จะสั่งให้ผู้ให้บริการผู้ใดเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ไว้เกินเก้าสิบวัน แต่ไม่เกินหนึ่งปีเป็นกรณีพิเศษเฉพาะรายและเฉพาะคราวก็ได้ ผู้ให้บริการจะต้องเก็บรักษาข้อมูลของผู้ใช้บริการเท่าที่จำเป็นเพื่อให้สามารถระบุตัวผู้ใช้บริการ นับตั้งแต่เริ่มใช้บริการและต้องเก็บรักษาไว้เป็นเวลาไม่น้อยกว่าเก้าสิบวันนับตั้งแต่การใช้บริการสิ้นสุดลง ความในวรรคหนึ่งจะใช้กับผู้ให้บริการประเภทใด อย่างไร และเมื่อใด ให้เป็นไปตามที่รัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ผู้ให้บริการผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรานี้ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าแสนบาท
มาตรา ๒๗ ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของศาลหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ที่สั่งตามมาตรา ๑๘ หรือมาตรา ๒๐ หรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของศาลตามมาตรา ๒๑ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองแสนบาทและปรับเป็นรายวันอีกไม่เกินวันละห้าพันบาทจนกว่าจะปฏิบัติให้ถูกต้อง
มาตรา ๒๘ การแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้รัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้มีความรู้และความชำนาญเกี่ยวกับระบบคอมพิวเตอร์ และมีคุณสมบัติตามที่รัฐมนตรีกำหนด
มาตรา ๒๙ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่เป็นพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามีอำนาจรับคำร้องทุกข์หรือรับคำกล่าวโทษ และมีอำนาจในการสืบสวนสอบสวนเฉพาะความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ในการจับ ควบคุม ค้น การทำสำนวนสอบสวนและดำเนินคดีผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ บรรดาที่เป็นอำนาจของพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่ หรือพนักงานสอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ประสานงานกับพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบเพื่อดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ต่อไป ให้นายกรัฐมนตรีในฐานะผู้กำกับดูแลสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และรัฐมนตรีมีอำนาจ ร่วมกันกำหนดระเบียบเกี่ยวกับแนวทางและวิธีปฏิบัติในการดำเนินการตามวรรคสอง
มาตรา ๓๐ ในการปฏิบัติหน้าที่ พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องแสดงบัตรประจำตัวต่อบุคคลซึ่งเกี่ยวข้อง บัตรประจำตัวของพนักงานเจ้าหน้าที่ให้เป็นไปตามแบบที่รัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์
นายกรัฐมนตรี

ข้อดี และ ข้อเสีย ของ พ ร บ คอมพิวเตอร์




     เมื่อพูดถึงกระแสฮอตฮิตที่สะเทือนวงการไซเบอร์บ้านเราในตอนนี้เห็นจะต้องยกให้กับ พ.ร.บ.การกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 ที่เริ่มมีผลบังคับใช้มาตั้งแต่วันที่ 18 ก.ค.2550 ที่ผ่านมา เนื่องจากมีข้อถกเถียงข้อโต้แย้งหลายแง่หลายมุมถึงผลกระทบของการบังคับใช้กฎหมายดังกล่าว

บ้างก็ว่าเป็นโอกาส บ้างก็ว่าเป็นวิกฤติ เนื่องจาก พ.ร.บ. ดังกล่าวเป็นกฎหมายที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการป้องกันปัญหาอาชญากรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ที่ก่อให้เกิดความเสียหายทั้งต่อเศรษฐกิจ สังคม ความมั่นคง และศีลธรรมอันดีของประชาชน

นอกจากนั้น อานิสงส์อย่างหนึ่งของกฎหมายใหม่นี้ส่งผลให้ภาครัฐต้องคลอดกฎระเบียบต่างๆ ที่เป็นกฎหมายลำดับรองเพื่อรองรับการทำงานของกฎหมายดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็นหลักเกณฑ์เกี่ยวกับคุณสมบัติของเจ้าพนักงาน และเจ้าหน้าที่สืบสวนสอบสวนเฉพาะความผิดตาม พ.ร.บ. ประกาศห้ามจำหน่ายหรือเผยแพร่ชุดคำสั่งไม่พึงประสงค์ (มาตรา 21) ประกาศเกี่ยวกับผู้ให้บริการและข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ (มาตรา 26)

ประกาศเกี่ยวกับบัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ (มาตรา 30) และระเบียบเกี่ยวกับแนวทางและวิธีปฏิบัติในการจับ ควบคุม ค้น การทำสำนวนสอบสวนและดำเนินคดี (มาตรา 29) เป็นต้น ดังนั้น เมื่อกฎหมายดังกล่าวทำท่าจะเข้ามาเกี่ยวพันโดยตรงกับชีวิตชุมชนออนไลน์ ก็คงจำเป็นที่ชาวไซเบอร์ทั้งหลายจะต้องทำความเข้าใจเพื่อปฏิบัติตามได้อย่างถูกต้องและไม่เสียรู้แก่ใครในภายภาคหน้า

มาว่ากันด้วยเรื่องของสาระสำคัญๆ ของกฎหมายใหม่นี้กันเลยดีกว่า หากดูชื่อ พ.ร.บ.ก็แน่ละว่าต้องเกี่ยวข้องกับการป้องกันอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ ซึ่งพูดกันคร่าวๆ ก็ได้แก่ การกระทำต่างๆ ที่เข้าข่ายการแฮ็กระบบคอมพิวเตอร์, การส่งไวรัสผ่านเว็บไซต์, การหลอกขอข้อมูลผ่านหน้าเว็บไซต์ต่างๆ, การขโมยข้อมูลบัตรเครดิต และอื่นๆ จากทั้งหมดที่พูดมาคงจะสงสัยกันไม่ใช่น้อยว่า แล้วมันเกี่ยวอะไรกับการซื้อขายออนไลน์ละเนี่ย
ถ้าเราไม่ได้ตั้งใจจะส่งไวรัสหรือไม่ได้ตั้งใจจะเจาะระบบใครทำไมต้องใส่ใจด้วยเล่า แน่นอนว่าดูเผินๆ อาจไม่เกี่ยวสักเท่าไหร่ แต่ถ้าพิจารณาให้ดีๆ ในมุมมองของคนขายของออนไลน์ผลกระทบมันก็มิใช่น้อยอยู่เหมือนกัน
ประการแรก คุณไม่สามารถที่จะทำ email marketing ได้อย่างเสรีเบิกบานใจเหมือนเมื่อก่อนอีกแล้ว หากอีเมล์โฆษณาสินค้าของคุณไปทำให้เกิดปัญหา spam mail ในกล่องรับข้อความของใครเข้าคุณก็สามารถถูกฟ้องร้องและต้องจ่ายค่าเสียหายถึงหนึ่งแสนบาทเลยทีเดียว
ประการที่สองถ้าคุณทำธุรกิจรับฝากขายสินค้าหรือประมูลสินค้าผ่านเว็บไซต์ คุณก็เสี่ยงในการจะถูกระงับการให้บริการหรือวันดีคืนดีอาจถูกเรียกค่าเสียหายเอาง่ายๆ ยกตัวอย่างเช่น ลูกค้ามาฝากขายสินค้าผ่านหน้าเว็บไซต์คุณ ทำการตกลงซื้อขายแลกเปลี่ยนกันเรียบร้อยแต่ไม่ส่งของให้กับคนซื้อ แล้วใครจะรับผิดชอบล่ะถ้าไม่ใช่คุณ
ดังนั้น ทางรอดหนึ่งเดียวของผู้ให้บริการเว็บไซต์ลักษณะเช่นนี้คือ คุณจำเป็นต้องเก็บรายละเอียดของผู้ที่เข้ามาใช้บริการเว็บไซต์ของคุณอย่างพิถีพิถันเป็นเวลา 90 วันถึงหนึ่งปีตามกฎหมาย หรืออยากจะเก็บมากกว่านั้นก็ได้ไม่มีใครว่า แต่ต้นทุนในการเก็บสำรองข้อมูลคุณจะเพิ่มขึ้นเท่าตัวเนี่ยสิ และหากคุณไม่ทำคุณก็จะโดนโทษปรับห้าแสนบาท! แล้วอย่าลืมหมั่นตรวจสอบสินค้าที่วางขายในเว็บไซต์ของคุณด้วยว่าเป็นสินค้าผิดกฎหมายหรือไม่

ทั้งนี้ ไม่ได้หมายถึงพวกยาเสพติด สินค้าลามก หรืออื่นๆ ที่มันร้ายแรงเท่านั้น แต่สินค้าจำพวกของนำเข้าผิดกฎหมาย สินค้าปลอม หรือเทปผีซีดีเถื่อนก็ถือว่าผิดเหมือนกัน
ประการที่สาม คุณคงต้องใส่ใจกับวิธีการตลาดประเภทแปะโฆษณาตามเว็บบอร์ดต่างๆ ด้วย ระวังอย่าใช้รูปภาพล่อแหลมหรือข้อความที่เข้าข่ายเป็นภัยต่อสังคมเข้าล่ะ
ประการที่สี่ ถ้าคุณเป็นผู้ให้บริการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต ไม่ว่าจะเป็น ISP, Web hosting หรือแม้แต่ e-Marketplace ก็อาจเสี่ยงที่วันดีคืนดีจะถูกระงับการให้บริการชั่วคราว หรือประสิทธิภาพของระบบการให้บริการของคุณอาจลดลงได้ง่ายๆ เช่นเดียวกัน เพราะตามกฎหมายอนุญาตให้พนักงานเจ้าหน้าที่ที่มีใบอนุญาต สามารถอายัดของกลางเพื่อตรวจสอบได้ ทั้งนี้จะต้องมีหมายศาลมาด้วยจึงจะกระทำการอายัดได้ ซึ่งของกลางที่สำคัญที่สุดก็คือเซิร์ฟเวอร์ของคุณไง!
ประการที่ห้า ถ้าคุณมีเว็บไซต์และมีบริการเว็บบอร์ดแลกเปลี่ยนกระทู้ตั้งคำถามอะไรต่อมิอะไรจะโพสจะแปะกันผ่านเว็บไซต์คุณได้ คุณต้องหมั่นมีเวลาตรวจสอบและคอยลบข้อความหรือกระทู้หรือรูปภาพใดๆ ที่เข้าข่ายลามกอนาจารหรือมีเนื้อหาที่ไม่เหมาะสมเข้าข่ายเป็นอันตรายต่อสังคม ออกจากเว็บไซต์ของคุณให้เร็วที่สุดก่อนที่จะมีการตรวจเจอ
มิเช่นนั้นคุณก็จะกลายเป็นผู้ต้องหาแม้ว่าคุณจะไม่ได้เป็นคนเอามาแปะไว้ก็ตาม แล้วถ้าหากคู่แข่งทางการค้าอยากจะแกล้งคุณล่ะ…ไม่อยากจะคิด ทั้งหมดที่พูดมาเป็นเพียงตัวอย่างที่เห็นชัดๆ เท่านั้น แต่ก็มิใช่ว่าจะหมดเพียงแค่นี้ เนื่องจากกฎหมายมันก็ขึ้นกับการตีความและผู้ที่ตีความด้วย!

อย่างไรก็ตาม มิใช่ว่ากฎหมายใหม่นี้จะมีแต่ข้อเสีย หากมองในแง่ดีของการทำธุรกิจออนไลน์แล้วล่ะก็มันก็สามารถช่วยให้คนซื้อทั้งในและต่างประเทศสามารถซื้อของได้อย่างมั่นใจเพิ่มขึ้น ทำให้สามารถตามตัวผู้กระทำความผิดได้ง่ายขึ้น

หากข้อมูลของคุณถูกแฮ็กขึ้นมาเมื่อไหร่ หรือเคราะห์ดีเคราะห์ร้ายคู่แข่งคุณอยากล่มระบบคุณซะอย่างงั้น คุณก็สามารถฟ้องร้องและเอาผิดทางอาญาได้เป็นเรื่องเป็นราว หรือถ้าหากคุณมี Content สำคัญอยากจะเผยแพร่แต่ก็กลัวโดนละเมิดลิขสิทธิ์ กฎหมายนี้ก็ปกป้องงานลิขสิทธิ์ออนไลน์ให้คุณอย่างเต็มที่ทีเดียว

เนื่องจากข้อหนึ่งของกฎหมายบัญญัติไว้ชัดเจนว่าห้ามปรับปรุง เปลี่ยนแปลง แก้ไขข้อความใดๆ ที่ปรากฏบนเว็บไซต์โดยไม่รับอนุญาตจากเจ้าของข้อความหรือรูปภาพนั้นๆ ก่อน และในทางกลับกันถ้าคุณเป็นคนขออนุญาตนำ Content เหล่านั้นมาใช้อย่าลืมเก็บหลักฐานว่าได้รับอนุญาตไว้ด้วยล่ะ และถ้าหากคุณเป็นคนประเภทคิดอะไรเชิงรุกแล้วล่ะก็ คงจะเห็นช่องทางทำมาหากินเพิ่มขึ้นแล้วล่ะซิ
แน่นอนจากผลของ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ธุรกิจที่จะได้รับความนิยมในอนาคตอันใกล้นี้คงจะหนีไม่พ้นการให้บริการความปลอดภัยของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์หรือผู้ให้บริการ Security ทั้งหลายแหล่ นอกจากนั้นธุรกิจใหม่ที่จะเกิดขึ้นและได้รับความนิยมถล่มทลายในอีกไม่เกินหนึ่งปีนี้ คือ ธุรกิจการให้บริการจัดเก็บข้อมูลและดูแลระบบสำรองข้อมูล รวมถึงธุรกิจให้บริการดูแลตรวจสอบเนื้อหาที่ไม่เหมาะสมในเว็บไซต์สำหรับเจ้าของเว็บไซต์ร้อยล้านที่ไม่มีเวลาดูแลเว็บบอร์ด, บล็อก หรือบริการฟรีต่างๆ ภายในเว็บไซต์ของตนเอง ถ้าคุณจับธุรกิจนี้ก่อนโอกาสรวยก็ใกล้แค่เอื้อมล่ะ

ในแง่ของคนใช้อินเทอร์เน็ตทั่วไปที่ไม่ได้เป็นผู้ขายออนไลน์ ก็นับได้ว่ากฎหมายใหม่นี้มีประโยชน์กับคุณไม่น้อยเหมือนกัน ประการแรก คุณซื้อของได้มั่นใจมากขึ้นไม่ต้องระแวงระวังการปลอมแปลงข้อมูลส่วนตัว หรือการขโมยข้อมูลบัตรเครดิตมากเหมือนในอดีต ประการที่สองปัญหาอีเมล์ขยะหรือ Spam Mail ที่ก่อความรำคาญใจให้คุณทุกครั้งที่เช็กเมล์ก็จะหมดไป
ประการที่สาม ไม่ต้องมานั่งอัพเดตแอนตี้ไวรัสกันแทบทุกวันเหมือนตอนนี้อีกแล้ว เพราะผู้ใดก็ตามที่ปล่อยไวรัสผ่านเว็บไซต์หรือจงใจนำไวรัสเข้าระบบคอมพิวเตอร์เพื่อจุดประสงค์ใดก็ตามมีความผิดทางอาญาเหมือนกันหมด และคุณก็สามารถฟ้องร้องได้ด้วย ถ้าข้อมูลสำคัญในเครื่องคุณเป็นอะไรไป
ประการที่สี่ คุณไม่ต้องระแวงระวังว่าลูกหลานจะได้รับข้อความหรือรูปภาพลามกอนาจารโดยตั้งใจหรือไม่ตั้งใจเหมือนทุกวันนี้ ทำให้คุณวางใจการใช้อินเทอร์เน็ตของเด็กๆ ได้เพิ่มขึ้นไม่น้อยทีเดียว แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น มีข้อดีก็ย่อมมีข้อเสียเป็นของธรรมดา เนื่องจากต่อไปนี้ ผู้ให้บริการฟรีต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นฟรีอีเมล์, บล็อก, ไดอารี่ หรือสนทนาออนไลน์จำพวก MSN ก็อาจจะลดน้อยลง เนื่องจากต้นทุนการให้บริการมันเพิ่มสูงขึ้นตามที่ได้กล่าวมาแล้ว

อีกทั้งการใช้บริการฟรีต่างๆ เหล่านั้นก็จะมีความยุ่งยากมากขึ้น มีขั้นตอนการสมัครที่ละเอียดถี่ถ้วนและต้องเสียเวลากรอกข้อมูลมากขึ้น และเมื่อการใช้อินเทอร์เน็ตแต่ละครั้งมันยุ่งยากซะขนาดนี้ เราอาจต้องอำลาธุรกิจอินเทอร์เน็ตคาเฟ่ในบ้านเรากันเสียที ถ้าหากการเข้าไปใช้อินเทอร์เน็ตแต่ละครั้งต้องให้ข้อมูลส่วนตัวนานัปการทั้งชื่อนามสกุล บ้านเลขที่ เบอร์โทรศัพท์บ้านโทรศัพท์มือถือ กระทั่งเลขที่บัตรประชาชนแล้วละก็เป็นใครก็คงไม่อยากเข้าไปใช้หรอกคุณว่ามั้ยล่ะ ก็เดี๋ยวนี้เครื่องคอมพิวเตอร์มันไม่ได้แพงอย่างแต่ก่อนแถมมีระบบผ่อนชำระด้วยนี่นา ใครทำธุรกิจค้าขายคอมพิวเตอร์ทั้งพีซีและโน้ตบุ๊กก็เตรียมยิ้มหน้าบานกันได้เลย





พ.ร.บ.คอมพิวเอตร์ 2550


วันพุธที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ความรู้เกี่ยวกับ Blog

Blog คืออะไร


    

     Blog มาจากทำว่า Webblog : “Web” เป็นคำนามเฉพาะ ย่อมาจาก “World Wide Web” ความหมายสั้น ๆ คืออินเตอร์เน็ต + log การจัดเก็บ บันทึก ดังนั้น Web-blog คือการเก็บการจดบันทึกบนโลกอินเตอร์เน็ต เป็น Personal Website ประเภทหนึ่งแต่ปัจจุบันได้พัฒนามาเป็น ช่องทางการสื่อสารหลาย ๆ เรื่องเช่น เรื่องธุรกิจ การค้าขาย การร้องเรียน การประชาสัมพันธ์ สเน่ห์ของ Blog อยู่ที่ความไม่เป็นทางการ หรือความเป็นกันเองระหว่างผู้เขียน Blog กับผู้ติดตามอ่าน Blog ปัจจุบันมีผู้ให้บริการ Blog หลายรายทั้งให้บริการฟรีโดย Server ของผู้ให้บริการเอง อาทิเช่น Blogger ของ Google, Wordpress.com, Yahoo360 ของไทยก็มี Bloggang.com ของพันทิพ, StoryThai.com หรือเป็น Blog ที่เจ้าของ Blog เอามาติดตั้งบนโฮสติ้งของตัวเอง เช่น Wordpress.org ,Drupal SEOSamutprakarn ก็เป็น Blog ประเภทหลังนี่เช่นกัน
   Blog  คือการบันทึกบทความของตนเอง (Personal Journal) ลงบนเว็บไซต์ โดยเนื้อหาของ blog นั้นจะครอบคลุมได้ทุกเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องราวส่วนตัว หรือเป็นบทความเฉพาะด้านต่าง ๆ เช่น เรื่องการเมือง เรื่องกล้องถ่ายรูป เรื่องกีฬา เรื่องธุรกิจ เป็นต้น โดยจุดเด่นที่ทำให้บล็อกเป็นที่นิยมก็คือ ผู้เขียนบล็อก จะมีการแสดงความคิดเห็นของตนเอง ใส่ลงไปในบทความนั้น ๆ โดยบล็อกบางแห่ง จะมีอิทธิพลในการโน้มน้าวจิตใจผู้อ่านสูงมาก แต่ในขณะเดียวกัน บางบล็อกก็จะเขียนขึ้นมาเพื่อให้อ่านกันในกลุ่มเฉพาะ เช่นกลุ่มเพื่อน ๆ หรือครอบครัวตนเอง มีหลายครั้งที่เกิดความเข้าใจกันผิดว่า Blog เป็นได้แค่ไดอารี่ออนไลน์ แต่ในความเป็นจริงแล้ว ไดอารี่ออนไลน์เปรียบเสมือน เนื้อหาประเภทหนึ่งของบล็อกเท่านั้น เพราะบล็อกมีเนื้อหาที่หลากหลายประเภท ตั้งแต่การบันทึกเรื่องส่วนตัวอย่างเช่นไดอารี่ หรือการบันทึกบทความที่ผู้เขียนบล็อกสนใจในด้านอื่นด้วย ที่เห็นชัดเจนคือ เนื้อหาบล็อกประเภท วิจารณ์การเมือง หรือการรีวิวผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่ตัวเองเคยใช้ หรือซื้อมานั่นเอง อีกทั้งยังสามารถแตกแขนงไปในเนื้อหาในประเภทต่าง ๆ อีกมากมาย ตามแต่ความถนัดของเจ้าของบล็อก ซึ่งมักจะเขียนบทความเรื่องที่ตนเองถนัด หรือสนใจเป็นต้น
Blogger คืออะไร
    Blogger เริ่มต้นจากบริษัทเล็กๆ ในซานฟรานซิสโกในปี 1999 นับตั้งแต่ Blogger เปิดตัวก็ได้เปลี่ยนโฉมหน้าของเว็บ สร้างผลกระทบต่อการเมือง เขย่าวงการสื่อสารมวลชน และทำให้คนนับล้านได้แสดงออกและติดต่อกับบุคคลอื่น ณ.ปัจจุบัน Blogger ได้ถูกซื้อไปอยู่ในความครอบครองของ Google เรียบร้อยแล้ว

ทำไมต้องใช้ Blogger
  1. ใช้งานง่าย แค่มีบัญชีอีเมล์ของ Google นั่นก็คือ Gmail คุณก็สามารถสร้าง Blog ออกมาได้นับไม่ถ้วน
  2. ปรับแต่งง่าย มีเทมเพลต พร้อมทั้ง Gadget มากมายให้เลือกใช้ เพื่อบ่งบอกความเป็นตัวของคุณ
  3. ไม่ล่ม แน่นอนครับก็มี Google ดูแลอยู่นี่นา
  4. ข้อสุดท้ายสำคัญที่สุด สามารถนำมาติดโฆษณาหารายได้จาก Google Adsense ได้อย่างง่าย ๆ หลาย ๆ คนเอามันมาเป็นสะพานเพื่อสมัคร Google Adsense
เมื่อนับข้อดีได้สี่ข้อแล้ว ก็ไปใช้ Blogger กันเถอะ แต่ก่อนอื่นไปสมัคร Gmail

วิธีการสร้างBlog